16 ธ.ค. 2553

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Computer Network ก็คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องหรือมากกว่า มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิ้ล โดยมี Adapter Card และ Software ช่วยในการทำงานของระบบเครือข่าย ทำให้เพิ่มขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันหรือใช้อุปกรณ์อื่นร่วมกันได้ เช่นในสำนักงานของท่านมีเครื่องคอมพิวเตอร์ 10 เครื่องต้องการทำให้สามารถใช้ Printer เพียงตัวเดียวร่วมกันได้ ก็ต้องทำการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งาน นอกจากนี้ยังสามารถทำให้ระบบเครือข่ายของท่านสามารถติดต่อสื่อสารกับระบบเครือข่ายได้อีกด้วย
     ระบบเครือข่าย (Networking)
     ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะมีระบบการทำงานแบบรวมศูนย์กลาง (Centralized) คือมี เทอร์มินอล (Terminal) ซึ่งเป็นจอภาพที่ทำหน้าที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่เชื่อมโยงไปยังผู้ใช้ทั้งหน่วยงาน เทอร์มินอลเป็นจอภาพที่ทำการเสมือนเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก ใช้การแบ่งเวลาและทรัพยากรหลักจากเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก (Time Sharing) โดยที่จะใช้ CPU ที่เครื่องหลัก ทำการประมวลผลที่สถานี (Terminal) นั้นจะไม่ทำการประมวลผลเองถึงแม้จะมีหน่วยประมวลผลก็ตาม ซึ่งเราจะเรียกสถานีนี้ว่า สถานีใบ้ (Dumb terminal) ต่อมาเครื่อง PC มีราคาถูกกว่าและสามารทำงานได้มากกว่า การใช้สถานีจอภาพ 3270 ตลอดจนสามารถจำลองให้เครื่องทำงานเสมือนจอภาพของเครื่อง PC ขนาดใหญ่ของ Vax เช่น VT100 และ Dumb terminal3270 ของ IBM PC โดยการรันโปรแกรม Terminal emulator เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเทอร์มินอล 3270 และ VT100,VT220 ที่มีราคาสูงกว่าแต่ก็ยังไม่ใช้ขีดความสามารถในการประมวลผลของ CPU ที่มีอยู่ภายใน
     ในเวลาต่อมาการใช้เครื่องระบบ Mainframe มีค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้น ตลอดจนการขยายขนาดการให้บริการจะต้องเพิ่มขีดความสามารถของ CPU ในเครื่องระดับ MINI Computer และ Mainframe Computer ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมากและเมื่อมีการเพิ่มปริมาณของผู้ใช้ระบบ จะต้องมีการร้องขอการให้บริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบแบบรวมศูนย์กลางไม่สามารถตอบสนองการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอึกต่อไป และจากความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล ทำให้เกิดแนวความคิดในการประมวลผล ที่เครื่องส่วนบุคคลที่เดิมเคยใช้เป็นเครื่องสาขาให้เป็นสถานีทำงานแบบ Intelligent Terminal และพัฒนาให้มีการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Processing) ระหว่างสถานีผู้ใช้งาน (Interconnect Station)
     การนำเอาคอมพิวเตอร์มารวมกันเป็นระบบเครือข่าย (Network) ทำให้สามารถทำงานได้มากขึ้นและลดภาระของเครื่องคอมพิวเตอร์หลักลง โดยยังคงมีประสิทธิภาพเท่าเดิมหรือดีกว่า และในปัจจุบันสถาปัตยกรรมเครือข่ายได้มีการนำเทคโนโลยีแบบ Client Server ที่ประมวลที่เครื่องลูกข่ายโดยที่เครื่องหลักจะทำหน้าที่จัดเก็บและบริหารข้อมูล ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ลดลงเป็นจำนวนมากแตอ่ย่างไรก็ดียังมีปัญหาอยู่บ้างในเรื่องของการจัดการเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบเครือข่ายเป็นการประกอบหรือเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแน่ 2 เครื่องเข้าด้วยกันโดยการใช้เส้นทางการสื่อสาร ซึ่งจะมีรูปแบบ (Topology) เป็นความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างส่วนต่างๆของโครงข่ายคอมพิวเตอร์ในแง่ของการเชื่อมโยง (Interconnection) หน้าที่การทำงาน (functionality) และตำแหน่งที่ตั้ง (Geographic Position)
     การเชื่อมต่อเครื่องเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดเครือข่ายย่อยภายในองค์กรนั้น สามารถทำได้โดยการศึกษาถึงลักษณะการเชื่อมต่อ ซึ่งแต่ละชนิดนั้นมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันไป สำหรับแนวทางการศึกษานั้นจะเน้นเรื่องการสร้างเครือข่ายขนาดเล็กภายในองค์กร

     รูปแบบของการเชื่อมต่อ (Topology)
     1. แบบดาว (Star)
      การต่อในรูปแบบดาว คือ การใช้สาย Cable เชื่อมต่อ Computer แต่ละเครื่องเข้าสู่ศูนย์กลาง เช่น Hub หรือ Switch ในการเชื่อมต่อแบบ Star นั้น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ที่ติดตั้งในระบบเครือข่ายไม่ทำงานจะไม่มีผลต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และไม่มีปัญหาการชนกันของข้อมูล (Collision) ที่ทำการรับส่งใน LAN เป็นการลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการบำรุงรักษาระบบได้มาก อุปกรณ์ที่ใช้เป็นศูนย์กลางต้องมีความสามารถสูง ซึ่งมีราคาแพงและเสียค่าใช้จ่ายในเบื้องต้นของเครือข่ายประเภทนี้สูง ระบบนี้อาจมีปัญหาในกรณีมีการทำงานที่ต้องการสื่อสารมากพร้อมๆกัน โดยศูนย์กลางเท่านั้น ถ้าศูนย์กลางเสียจะไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ทั้งระบบ แต่ระบบแบบนี้ง่ายในการดูแลรักษาเนื่องจากสามารถตรวจสอบได้ง่าย
     2. แบบ Bus
     เป็นระบบที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าด้วยกันในลักษณะของ Linear Bus คือ เชื่อมต่อกันเป็น Single Cable โดยสาย Cable ที่ใช้ อาจจะเป็นสายแบบเกลียวคู่ (Twisted Pair) สายแกนกลาง (Coaxial) หรือเส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) สัญญาณทั่งหมดจะถูกกระจายทั้งเส้นทาง และด้วยซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมจะสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในระบบสามารถรับ และส่งสัญญาได้ ระบบแบบนี้นิยมใช้ในระบบ LAN เนื่องจากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสาย และความง่ายของการต่อเชื่อมออกไปเรื่อยๆแต่ถ้าสายช่วงใดช่วงหนึ่งขาดไป จะทำให้วงจรเครือข่ายทั้งหมดเสียไปด้วย ตลอดจนการชนกันของสัญญาณ (collision) ซึ่งจะมีมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานของสมาชิกมากขึ้นในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายโดยใช้รูปแบบของ Bus นั้น มีเรื่องที่ต้องเข้าใจอยู่ว่าเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้ทำการติดต่อมายังสายสัญญาณกลาง (Backbone) เพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูล ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้จะต้องเสียเวลาในการคอยให้สายว่างและมีโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูลสูงสุดด้วย ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย
   

     การสื่อสารในระบบ Bus
     ในระบบนี้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้การส่งถึงตำบลที่ที่กำหนด (Addressing) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบซึ่งทุกเครื่องจะมีหมายเลขที่ต่างกัน จากนั้นเครื่องที่ต้องการส่งสัญญาณจะทำการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ลงไปบนสายเคเบิล ซึ่งสัญญาณจะทำงานโดยการส่งไปทั้งสองด้านของ Bus แต่มีจ่าหน้าถึงเครื่องที่กำหนดเท่านั้น ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในระบบจะไม่รับสัญญาณ ยกเว้นเครื่องที่กำหนดไว้ในข้อความเท่านั้น ข้อดีคือ ความง่ายในกาพัฒนาระบบ แต่ข้อเสียคือ จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่จะส่งข้อความได้ และถ้าเครื่องอื่นต้องการส่งข้อความจะมีการชนกันของสัญญาณเกิดขึ้นทำให้ต้องส่งใหม่อย่างไรก็ดีการกำหนดว่าควรใช้ Bus แล้วทำให้เครือข่ายช้าลงหรือไม่นั้น จะใช้การพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
    - ความสามารถของอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ความเร็วของ LAN Card และคอมพิวเตอร์
    - แม่ข่าย
    - จำนวนครั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณเพื่อการสื่อสาร
    - ลักษณะของระบบงานที่ทำงานบนเครือข่าย
    - ลักษณะของสายสัญญาณ
    - ระยะทางระหว่างเครื่องบนเครือข่าย
     สัญญาณที่ส่งในระบบ Bus จะทำการส่งออกไปทั้งสองด้านทั่วทั้ง Network จนกว่าจะถึงจุดสิ้นสุด ในกรณีนี้สัญญาณอาจจะเกิดการสะท้อนกลับได้ ดังนั้นจะต้องมีการหยุดสัญญาณที่จะสะท้อนกลับโดยการติดตั้ง Terminator ที่ปลายทั้งสองของ Bus เพื่อป้องกันการสะท้อนกลับของสัญญาณ และถ้าไม่ติดตั้ง Terminator ที่ปลายทั้งสองจะทำให้ระบบเครือข่ายใช้งานไม่ได้ หรือที่เรียกว่า Network down ดังนั้น การที่สายขาดหรือหลุดที่ส่วนใดส่วนหนึ่งจะทำให้สัญญาณสื่อสารที่ส่งออกมาไม่พบ Terminator ดังนั้นเครือข่ายทั้งหมดจะไม่ทำงาน
     3. แบบ Ring
     เป็นระบบที่มีความมั่นคงสูง และมีประสิทธิภาพดีจากการออกแบบของ IBM ระบบจะต่อกันเป็น วงแหวนและให้เชื่อมต่อกัน ในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Ring นั้น เครื่องทุกเครื่องจะถูกต่อเข้าด้วยกันในรูปแบบเหมือนวงแหวนและการส่งข้อมูลนั้นก็จะถูกส่งผ่านตามวงแหวนไปถึงเครื่องที่ต้องการ
การรับส่งข้อมูลจะวนไปในทิศทางเดียว การสื่อสารจะใช้สัญญาณที่เรียกว่า Token ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดในระบบต้องการส่งสัญญาณ จะทำการจับ Token นี้จะส่งสัญญาณออกไปยังเครื่องที่ต้องการ และเมื่อส่งเสร็จแล้วจะปล่อยสัญญาณ Token เป็นอิสระ การทำงานในลักษณะนี้จะสามารถลดความผิดพลาดอันเกิดจากการส่งสัญญาณที่ชนกันบ่อยๆ ในระบบ Bus อย่างไรก็ดีการเชื่อมต่อแบบ Ring (Token Ring) นี้ยังเป็นสิทธิบัตรของ IBM ที่มีราคาแพงอยู่และเหมาะสมกับระบบที่มีการส่งข้อมูลมากๆ และบ่อยๆ
   
    4. ระบบเครือข่ายแบบ Mesh
     เป็นระบบเครือข่ายที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนนิยมใช้ในการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องแม่ข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งในการพัฒนาระบบเครือข่ายแบบ Mesh นั้นอาจจะทำโดยการผสม ระหว่างการเชื่อมต่อหลายๆรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ Bus Topology คู่กับการเชื่อมต่อแบบ Star หรือว่า Ring เป็นต้น
  

     ประเภทของระบบเครือข่าย (Types of Network)
     1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN: Local Area Network)
     เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในบริเวณใกล้เคียงเข้าด้วยกัน เช่น ในห้อง 1 ห้อง หรือในชั้น 1 ชั้น โดยทั่วไป LAN จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่อง PC กับอุปกรณ์ต่างๆในอาคารเพื่อจะทำการใช้ข้อมูล และอุปกรณ์ทีมีราคาแพง
     ระบบเครือข่ายแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้จำนวนมาก โดยการส่งผ่านสื่อที่มีความเร็วสูง เช่น สายทองแดงแบบแกนกลาง (Coaxial Cable) เส้นใยนำแสง (Fiber Optic) หรือ สายแบบเกลียวคู่ (Twisted Pair) โดยทั่วๆ ไปมีวิธีการ 2 วิธีในการเชื่อมโยงข้อมูลใน LAN วิธีการแรกเรียกว่า Token passing ซึ่งจะส่งสัญญาณเป็นวงกลมโดยรอบและถ้าสถานีใดต้องการส่งสัญญาณจะทำการจอง Token ไว้และส่งสัญญาณไปยังสถานีเป้าหมาย หลังจากส่งสัญญาณเสร็จแล้ว Token จะถูกปล่อยเป็นอิสระอีกครั้ง และพร้อมที่จะรับสัญญาณต่อไป
     วิธีการที่สองเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection: CSMA/CD วิธีการนี้ใช้กับการต่อเชื่อมโยงในระบบ Bus ซึ่งมีการใช้สายร่วมกัน หลักการคือการส่งสัญญาณจะทำได้เพียงสถานีเดียวเท่านั้น ถ้าเกิดการส่งมากกว่า 1 สถานี จะเกิดการชนกัน ทำให้ข้อความเสียหายดังนั้นสถานีที่ต้องการส่งจะต้องตรวจสอบว่ามีสถานีใดส่งก่อนหรือไม่ ถ้าไม่มีจึงจะส่งได้แต่ถ้าเกิดการชนกันสถานีนั้นจะต้องหยุดในเวลาที่สุ่มไว้และลองส่งใหม่ภายหลัง
ข้อดีของระบบเครือข่ายท้องถิ่น
     - สื่อในการสื่อสารของระบบมีราคาถูก
     - อุปกรณ์เชื่อมโยงราคาถูก
     - เชื่อมโยงง่าย
     - ความเร็วสูง
     - ราคาของระบบโดยรวมมีราคาถูก
     ในระบบ LAN นั้นจะมีอีกคุณลักษณะที่สำคัญในการส่งข้อมูลของช่องสัญญาณนั่นคือ Baseband และ Baseband เป็นการส่งที่ละสัญญาณ เช่น อักษรหรือภาพ หรือวีดีโอ แต่ Broadband จะเป็นการส่งพร้อมๆกันได้
  

     2. Metropolitian Area Network (MAN)
     เป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่กว่า LAN ต่อกันในระดับเมือง หรือ อาคารหลายๆ หลังเชื่องเข้าด้วยกันด้วยเทคโนโลยีของสายเครือข่ายความเร็วสูง (Backbone) จะทำให้ระบบในอาคารต่างๆเชื่อมด้วยความเร็วสูงเช่นกัน ในบ้างครั้งระบบในทำนองนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในมหาวิทยาลัยในการเชื่อม LAN ของคณะต่างๆเข้าด้วยกันและใช้ชื่อว่า Campus Network   เช่น นนทรีเน็ทของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น
  

     3. ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN: Wide Area Network)

     เป็นระบบที่ใช้ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง เป็นระยะทางหลายๆกิโลเมตร จนถึงระดับประเทศ ทวีป การเชื่อมในระบบ WAN ส่วนใหญ่จะใช้สายที่เป็นบริการทั่วไปเช่น โทรศัพท์ การเช่าคู่สายวงจรตายตัว (Leased line) การใช้ดาวเทียม การใช้สัญญาณอื่นๆที่สามารถส่งผ่านระยะทางไกลๆ ได้ การเชื่อมต่อจะสามารถใช้ได้ 2 แบบ คือ แบบ Switched และแบบวงจรตายตัว (Dedicate) ซึ่งเป็นการเช่าด้วยราคาคงที่แบบเหมาจ่าย รูปแบบของระบบงานที่ใช้ WAN ได้แร่ ระบบฝากถอนผ่านธนาคาร ระบบบัตรเครดิต และระบบโอนเงินต่างประเทศ (Swift) เป็นต้น
 

     Value – Added Networks (VAN)

     เป็นทางเลือกของระบบเครือข่าย โดยแทนที่บริษัทที่ทำธุรกิจ จะต้องลงทุนเดินระบบเครือข่ายเองจะเป็นการใช้เครือข่ายซึ่งเดินโดยบริษัทบุคคลที่ 3 หรือ Third Party และคิดค่าใช้จ่ายตอบแทนสำหรับการใช้บริการแบบนี้ บริษัทต่างๆจะลดค่าใช้จ่ายของตนลงได้จำนวนมหาศาล เนื่องจากมีบุคคลอื่นมาช่วยกันแบ่งค่าใช้จ่ายไป สำหรับประเทศไทยเริ่มมีแนวความคิดในการใช้ระบบแบบนี้ในเครือข่าย GINET (Government Information Network) โดยทาง NECTEC จะตั้งเครือข่ายเพื่อการบริการและให้หน่วยงานต่างๆมาเชื่อมสัญญาณเข้าที่ระบบนี้ ในสหรัฐอเมริกามีการใช้ระบบในรูปแบบนี้ภายใต้การบริการของ GE (General Electric) ตั้งระบบชื่อ GEIS (GE Information Services Company) ภายใต้ระบบ VAN นั้น มีวิธีการต่างๆ ที่สามารถทำให้การสื่อสารข้อมูลมีราคาต่ำลง Packet Switching เป็นวิธีการหนึ่งที่ลดค่าใช้จ่ายในระบบดังกล่าว Packet Switching เป็นเทคโนโลยีที่ แบ่งสัญญาณออกเป็นส่วนเล็กๆขนาดเท่าๆกันเรียกว่า Packet โดยปกติมีขนาด 128 bytes การส่งแบบนี้จะสามารถทำให้สายสัญญาณเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ร่วมกันหลายๆคนได้ และข้อความที่แบ่งตัวและถูกส่งออกไปจะไปรวมตัวกันที่ปลายทางตามที่กำหนดในส่วนหัวของ Packet นั้น Frame Relay เป็นลักษณะหนึ่งของ Packet Switching แต่ไม่มีการตรวจสอบความผิดพลาด เนื่องจากมีความไว้วางใจในระบบการส่งแบบดิจิตอล ที่มีความถูกต้องสูงมากอยู่แล้ว ระบบนี้จะทำให้การส่งข้อมูลในลักษณะนี้เร็วขึ้นมาก
     ATM (Asynchronous Transfer Mode)
     เป็นเทคโนโลยีล่าสุด ที่สามารถรับและส่งข้อมูลหลายสื่อได้พร้อมๆกันในเครือข่ายเดียว ระบบ ATM จะทำการแบ่งข้อมูลออกเป็นเซลขนาดเท่าๆกัน 53 กลุ่มๆละ 8 bytes ลดความจำเป็นของการแปลง Protocol และส่งข้อมูลได้ถึง 2.5 GB/S
     ระบบเครือข่ายสากล (INTERNET)
     INTERNET เป็นเครือข่ายที่ดำเนินการให้บริการสื่อสารข้อมูลในระดับทั่วโลก โดยที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของระบบนี้ เป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาการทางทหารของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯในโครงการARPA (Advanced Project Research Agency) ในปีค.ศ.1969โดยเริ่มจากการเชื่อมโยงข้อมูลใน 4 มหาวิทยาลัยด้วยการใช้โปรโตคอลที่มีชื่อว่า TCP/IP(Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งต่อมาคำว่า INTERNET ได้กลายมาเป็นชื่อของระบบเครือข่ายในที่สุดจนกระทั่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์กว่า 200 ล้านเครื่องและมากขึ้นเป็น1-2เท่าในทุกปีต่อจากนี้ไป มีแนวความคิดที่จะพัฒนาระบบนี้ให้เป็นศูนย์กลางของการส่งข้อมูลสารสนเทศหรือที่เรียกว่าโครงการทางด่วนข้อมูลโดยข้อเสนอของรัฐบาลสหรัฐ(ประธานาธิบดี คลินตันและ รองประธานาธิบดีอัลกอร์ที่มีบทบาทอย่างสูงในการให้ความสนับสนุนโครงการนี้) ระบบ INTERNETจะมีสารสนเทศแทบทุกประเภทที่มีในปัจจุบันในหลายๆภาษา(โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ) ไม่ว่าจะเป็น ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ศาสนา วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ บันเทิง ข่าว ไปจนถึงเรื่องคลายเครียด เช่น แฟชั่น การ์ตูน หรือแม้แต่ข่าวเล่าลือที่ไม่ทราบที่มา บริการต่างๆในระบบอินเทอร์เน็ต มีตั้งแต่รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)การทำกลุ่มข่าวสาร( NewsGroup ,Usenet)เครือข่ายใยพิภพ (World Wide Web)หรือ Web ,IRC(Internet Relay Chat),Internet Phone ,Teleconferenc ,EID การเล่นเกมส์ การใช้และควบคุมคอมพิวเตอร์จากระยะไกล(Telnet)การโอนย้ายข้อมูล(FTP :File Transfer Protocol)และอื่นๆอีกมากมายกล่าวได้ว่าระบบInternet เป็นเสมือนทางด่วนของสารสนเทศที่จะเข้ามาถึงทุกครอบครัวให้สามารถใช้แทนการสื่อสารในรูปแบบอื่นๆในอนาคต
     อินทราเน็ต (INTRANET)
     เป็นเครือข่ายภายในองค์กรที่เปลี่ยนวิธีการในระบบ LAN ด้วยโปรโตคอลของระบบปฏิบัติการเครือข่ายเดิมๆ เช่น I PX/SPX ไปเป็นการใช้โปรโตคอล TCP/IP เช่นเดียวกันระบบ Internet และด้วยความสามารถของโปรแกรมที่พัฒนาเพื่อใช้กับ Internet ได้เพียงแต่ Intranet จะเป็นเครือข่ายปิดใช้เฉพาะในองค์กรเท่านั้น ไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาอาศัย หรือดูข้อมูลได้ อย่างไรก็ดีได้มีการพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า กำแพงเพลิง (Fire Wall) เพื่อกั้นการเข้าถึงข้อมูลเพื่อกั้นการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิจากภายนอกและสามารถให้ผู้ที่มีสิทธิภายในสามารถดูข้อมูลและค้นคืนข้อมูลจากInternet ได้เหมือนเดิม
    เอกซทราเน็ต EXTRANET
     เป็นแบบเดียวกับ Intranet แต่ใช้เชื่อมโยงกันหลายๆองค์กรเข้าด้วยกันโดยทั่วๆ ไปจะเป็นองค์กรที่ทำธุรกิจร่วมกัน ต่างจากIntranet ที่การใช้งานจำกัดขอบเขตเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างเช่น กลุ่มธนาคาร จะมีเครือข่ายโอนเงินเป็นกลุ่มของตัวเอง (Swift)
สื่อที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (Transmission Medium)
สื่อหรือช่องสัญญาณสื่อสาร คือ สิ่งที่สามารถส่งข้อมูล หรือเสียงบนเครือข่ายช่องสัญญาณสื่อสารนี้ อาจจะเป็นสายโทรศัพท์แบบเกลียวคู่ (Twisted Pair) สายเส้นใยนำแสง (Fiber Optic) สายทองแดงแบบแกนกลาง (Coaxial) หรือแม้แต่แบบไร้สาย (Wireless) เราอาจจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า สื่อ (Medium) ก็ได้ สัญญาณที่ส่งทำได้ 2 รูปแบบ คือ การส่งแบบอนาล็อก และการส่งแบบดิจิตอลโดยที่สัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณแบบคลื่นที่ต่อเนื่อง (Continuous Waveform) ส่งผ่านสายสื่อสาร และใช้ส่งสัญญาณเสียงเป็นหลัก ส่วนสัญญาณแบบดิจิตอลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง คือ เป็นสวิทช์ชิ่ง ที่ชัดเจนมีค่าเป็น 0 หรือ 1 เท่านั้น สัญญาณแบบนี้สามารถแทนค่าได้ด้วยวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์เนื่องจากสัญญาณ 0 และ 1 แทนค่าด้วยสวิทช์ เปิด และปิด การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดในโลกใช้การสื่อสารด้วยวิธีนี้ ช่องสัญญาณการสื่อสารของ Telecommunication มีหลากหลาย แต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
    1. สายเกลียวคู่ (Twisted Pair/Wire) เป็นสายไฟทองแดงที่ใช้กันทั่วไปตามสายโทรศัพท์ในบ้าน ถือได้ว่าเป็นสื่อที่เป็นพื้นฐานและเก่าแก่ที่สุดที่ยังมีใช้ในปัจจุบันใช้ในการส่งสัญญาณ อนาล็อก(เสียง) เป็นหลัก สายแบบนี้มีราคาถูกมากแต่มีความเร็วและความสามารถต่ำในการส่งสัญญาณ อย่างไรก็ดี ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ได้เพิ่มขีดความสามารถของสื่อแบบนี้ได้ถึง 100 Mbits/s ซึ่งก็เพียงพอในการสื่อสารระหว่างไมโครคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อเนื่อง
    
     2. สายเคเบิลแบบมีแกนกลาง (Coaxial Cable) สามารถส่งข้อมูลจำนวนมากมายการห่อหุ้มด้วยฉนวนทำให้ส่งข้อมูลได้จำนวนมากๆ สามารถส่งได้สูงถึง 200 Mbits/s แต่จากความหนาของสายแบบนี้ ทำให้ยากในการเดินสาย และไม่ค่อยสะดวกนักในการเชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกัน
      
     3. สายเส้นใจนำแสง (Fiber Optics) เป็นสายที่ประกอบจากใยแก้วจำนวนมากขนาดหนาเท่าเส้นผมมนุษย์ ประกอบอยู่ในสายเคเบิลเป็นสัญญาณแสง สร้างจากอุปกรณ์เลเซอร์ด้วยความเร็วสูง 500 Kbits/s จนถึงหลายๆล้านบิต (Kbits/s) สื่อแบบนี้ควรใช้กับระบบที่มีการส่งข้อมูลมากๆ แต่ก็มีข้อเสียคือ การติดตั้งที่ยุ่งยากราคาเริ่มต้นที่แพง และการเชื่อมต่อที่ยากลำบาก สื่อแบบนี้เหมาะมากในการทำเป็นสายหลัก หรือ Backbone ระบบที่ต้องการทางด่วนข้อมูลความเร็วสูงในองค์กร เช่น การตอแบบ FDDI หรือ ATM ที่ต้องการความเร็วสูง เพราะมีความต้องการส่งสัญญาณภาพ เสียง และวีดีโอ
  
     ในระบบการสื่อสารโทรคมนาคมในปัจจุบัน เรามีการสื่อสารที่ไม่ต้องใช้สายหรือ ที่เรียกว่า Wireless ซึ่งใช้การส่งสัญญาณผ่านอากาศที่เป็นตัวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์นั้นเราใช้สื่อไร้สาย ดังนี้
    1. สัญญาณไมโครเวฟ เป็นคลื่นวิทยุความถี่สูงมาก สามารถทะลุทะลวงชั้นบรรยากาศระดับ เทอร์เรสเชียล และซีเลสเชียลได้ เป็นที่นิยมในการใช้ส่งสัญญาณจำนวนมากเป็นระยะไกลๆ ด้วยการใช้ดาวเทียม สัญญาณที่ส่งจะครอบคลุมพื้นที่จำนวนมากได้ทันที
    2.ระบบเพจเจอร์ (Paging system) ระบบนี้สามารถส่งข้อความแบบสั้นๆไปยังบุคคลที่ต้องการ หรือกลุ่มที่ต้องการได้ทันที และมีค่าบริการที่แน่นอนตายตัว
    3.ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ (Cellular Telephone) เป็นระบบที่ใช้หลักการสื่อสารแบบวิทยูกับเสาสัญญาณแม่ ซึ่งเป็นเสาสูงที่ต่อเชื่อมกันเป็นลักษณะเซลแบบรังผึ้งติดต่อกันโดยต่อเนื่อง
    4.ระบบคอมพิวเตอร์คู่ใจ PDA (Personal Digital Assistants) เป็นระบบที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดขนาดฝ่ามือ ใช้การเขียนลงบนจอภาพและมีขีดความสามารถในการสื่อสารแบบดิจิตอล โดยเชื่อมกับระบบสื่อสารไร้สาย
    การแก้ปัญหาของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    1.เมื่อเครื่องไม่สามารถติดต่อเข้ากับเครือข่ายได้ ให้ทำการตรวจเช็คสายสัญญาณว่า ได้มีการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องเรียบร้อยหรือไม่
    2.หากเสียบสายสัญญาณเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่สามารถต่อเข้าระบบเครือข่ายได้ปัญหาอาจเกิดจากIRQ หรือ Interrupt Request ของ Network Card ชนกับ IRQ ของอุปกรณ์อื่น แก้ไขโดยการเข้าไปเปลี่ยน IRQ ของอุปกรณ์ให้ไม่ชนกันโดยเรียกใช้ Device Manager ที่อยู่ภายใน My Computer ได้
    3. อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อมีปัญหา เช่น อุปกรณ์เร่งสัญญาณ Repeater หรือที่เรียกว่า HUB หรืออุปกรณ์จำพวก Switch เสียหายนั่นเอง
    4. การเกิด collision หรือการที่เครื่องที่ติดต่อเข้ามาพยายามทำการส่งข้อมูลพร้อมกัน ผลก็คือ ข้อมูลไม่สามารถส่งออกไปได้ โดยปกติจะสามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละ 1 เครื่องเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น